วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติผู้จัดทำ



ประวัติผู้จัดทำ






ชื่อ          นางสาววิลินประภา  ทองคำ

ชื่อเล่น      นิ้งน๋อง


เกิดวันที่     21..  2538

กำลังศึกษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 4                                                                        
      โรงเรียนนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

สาขาวิชาที่เรียน  ศิลป์ทั่วไป

อาชีพที่ใฝ่ฝัน   ครู  พนักงานธนาคารรัฐ-การเงิน

บุคลิก       เป็นคนร่าเริงเข้ากับคนง่าย ชอบงอล
             ขี้น้อยใจ  และขี้โมโห

 

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาหารพื้นเมืองของจังหวัดระยอง

อาหารพื้นเมืองของจังหวัดระยอง
หมูชะมวง
            ช่วงฤดูกาลผลไม้แบบนี้ หลายคนคงยกโขยงกันไปเที่ยวแถวภาคตะวันออกของประเทศ เนื่องจากมีสวนผลไม้มากมายให้เลือก มีผลไม้หลากหลายให้ชิม ซึ่งล้วนแล้วแต่อร่อยถูกปากทั้งนั้น แต่นอกจากผลไม้แล้ว ทางจังหวัดแถบนี้ก็ยังมีอาหารท้องถิ่นที่อร่อยขึ้นชื่อไม่แพ้กัน นั่นก็คือเมนู หมูชะมวง
       
          หมูชะมวง เป็นเมนูอาหารพื้นบ้านในแถบจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ซึ่งเป็นการใช้วัตถุดิบพื้นบ้านมาประกอบเป็นอาหารนั่นเอง โดยแกงหมูชะมวง จะใช้ ใบชะมวง ที่เป็นผักพื้นบ้าน มาเป็นส่วนประกอบสำคัญ ใบชะมวงนี้ก็ได้มาจากต้นชะมวง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้ทั่วไปในเขตป่าร้อนชื้นไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้
       
            ใบชะมวงจะมีลักษณะคล้ายกับใบมะดัน ใบเนื้อหา มีรสชาติเปรี้ยว จึงนำมาใช้เพิ่มรสชาติในอาหารหลายๆ จาน ส่วนสรรพคุณของใบชะมวงก็มีอยู่ไม่ใช่น้อย ช่วยเป็นยาระบาย แก้ไข้ กัดเสมหะ แก้ไอ และแก้กระหายน้ำ
  สำหรับ หมูชะมวง มีวิธีการทำคือโขลกเครื่องแกงแล้วนำมาผัดกับเนื้อหมู สามารถใช้ได้ทั้งเนื้อหมูล้วนๆ หรือจะเลือกใส่หมูสามชั้นก็ได้หากไม่กลัวไขมัน ผัดเสร็จแล้วใส่ใบชะมวง เติมน้ำ ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บและเกลือ หรือน้ำปลา (บางสูตรอาจไม่ใส่น้ำปลา เนื่องจากทำให้รสชาติเพี้ยนไปจากดั้งเดิม) ส่วนความเปรี้ยวนั้นจะได้จากใบชะมวงอยู่แล้ว จากนั้นเคี่ยวต่อเรื่อยๆ จนหมูเปื่อยนุ่ม กินคู่กับข้าวสวยร้อนๆ กับแกงหมูชะมวงรสชาติเปรี้ยวหวานเค็มกลมกล่อม
       
       เคล็ดลับในการทำหมูชะมวงให้ได้รสชาติจากใบชะมวงแท้ๆ นั้น อยู่ที่การเลือกใบชะมวงที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ล้างทำความสะอาดแล้วฉีกส่วนก้านทิ้งไป เมื่อจะใส่ลงในแกงก็ให้ใช้มือฉีกใบชะมวงเป็นชิ้นๆ และขยำให้ช้ำเล็กน้อย จะได้รสชาติความเปรี้ยวจากใบชะมวงออกมาอย่างเต็มที่
       
       ใครที่มีโอกาสไปเยือนจังหวัดแถบภาคตะวันออก ก็อย่าลืมแวะชิม หมูชะมวง แกงพื้นบ้านแสนอร่อยเป็นของคาว แล้วมาปิดท้ายมื้อด้วยผลไม้นานาชนิดให้อิ่มหนำสำราญใจ

แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดระยอง

แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดระยอง
สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                   ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์บำรุงรักษาและบ้านพักมาบข่า การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย บนทางหลวงหมายเลข 3191 ต.มาบข่า ห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กิโลเมตร มีพื้นที่ 60 ไร่ จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมสมุนไพร และเป็นศูนย์รวมความรู้ และงานวิจัยทดลองเรื่องสมุนไพร ที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 -16.30 น.
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง
                 อยู่ในศูนย์พัฒนาประมงอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ตำบลเพ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำแห่งนี้ จัดตั้งโดยกรมประมงเพื่อ เป็นสถานที่ศึกษา ทดลอง และวิจัย เกี่ยวกับสัตว์ทะเลและพรรณไม้น้ำ และเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สัตว์น้ำที่สวยงามและหายาก โดยแบ่งการจัดแสดงเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ส่วนนิทรรศการ และส่วนพิพิธภัณฑ์ จุดเด่นอยู่ที่อุโมงค์ทางเดินใต้ทะเลจำลอง ที่จะทำให้คุณได้สัมผัสกับชีวิตใต้ท้องทะเลอย่างใกล้ชิด กับฝูงปลาน้อยใหญ่ที่แหวกว่ายไปมาอยู่รอบๆ ตัวคุณขณะที่เดินลอดอุโมงค์
แหลมแม่พิมพ์
                จากถนนสุขุมวิท มีทางแยกขวา ไปแหลมแม่พิมพ์ หลายเส้นทางด้วยกัน ได้แก่ ที่ กม. 258 , 265 และ 268 ผ่านอนุสาวรีย์ สุนทรภู่ ไปอีก 5 กิโลเมตร หรือห่างจากวังแก้ว ตามถนนเรียบชายหาด ไปอีก 11 กิโลเมตร บริเวณชายหาดแม่พิม เล่นน้ำได้ คลื่นไม่แรงนัก น้ำทะเลสะอาด
หาดพยูนและหาดพลา
                  หาดแรกของระยอง มีพื้นที่ติดต่อกับเขตฐานทัพเรือสัตหีบ ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านฉาง โดยมีทางแยก จากถนนสุขุมวิท บริเวณ กม. 191 ไปอีก 5 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองระยอง 32 และ 34 กิโลเมตร ตามลำดับ เป็นชายหาดยาวติดต่อกัน มีความสวยงามและสงบ บริเวณหาดพลา มีสวนสนปลูกไว้หนาแน่นและร่มรื่น มีพื้นที่ติดต่อกับเขตฐานทัพเรือสัตหีบ ลงเล่นน้ำได้
อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง
                 จากกรุงเทพฯ ไปตามเส้นทางสายสุขุมวิท-จันทบุรี ถึงตลาดบ้านเขาดิน จังหวัดระยอง แล้วเข้าถนนบ้านเขาดิน-สี่แยกพัฒนา ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร จะเห็นป้ายบอกทางเข้าอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง อยู่ทางขวามือ เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร จึงจะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
อนุสาวรีย์สุนทรภู่
                  อยู่ห่างจากแหลมแม่พิมพ์ โดยอยู่ก่อนถึงแหลมแม่พิมพ์ประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีเนื้อที่ 8.5 ไร่ ในบริเวณอนุสาวรีย์มีรูปปั้นตัวละครในเรื่อง-พระอภัยมณีบางตอน อนุสาวรีย์นี้เปิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2513 ในวันที่26 มิถุนายนของทุกปี จะมีการจัดงานวันสุนทรภู่ โดยมีพิธีสักการะอนุสาวรีย์การแสดงนิทรรศการ และละครในวรรณกรรมของสุนทรภู่
น้ำตกคลองปลาก้าง
                   อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 3 กม. เป็นน้ำตกที่สวยงามมากมีหลายชั้น แต่ทางไปน้ำตกค่อนข้างลำบาก ต้องเดินผ่านป่าและบางช่วงต้องปีนหน้าผา เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการท่องเที่ยวแบบผจญภัย และศึกษาธรรมชาติ เพราะตลอดเส้นทางจะมีเฟิร์น และกล้วยไม้ป่าขึ้นอยู่ทั่วไป

วัฒนธรรม ประเพณี

วัฒนธรรม ประเพณีของจังหวัดระยอง
งานวันสุนทรภู่ จังหวัดระยอง
                จัดเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ณ บริเวณอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง มีการจัดพิธีสักการะ บวงสรวงดวงวิญญาณ และทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ท่านสุนทรภู่ เพื่อรำลึกและสดุดีสุนทรภู่รัตนกวีของไทย และเป็นการเผยแพร่เกียรติยศ ผลงานอันเป็นอมตะของท่าน พร้อมกับส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าใจ ซาบซึ้งในบทกวี และแสดงออกในผลงานตามรูปแบบของท่านสุนทรภู่ โดยภายในงานจะมีกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่ การจัดนิทรรศการผลงานของสุนทรภู่ การแสดงละครในวรรณกรรมของสุนทรภู่ การแข่งขันอ่านทำนองเสนาะ และพาเรดตัวละครในวรรณคดี การจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ราคาถูกของภาคตะวันออก การแสดงแสงเสียงและมหรสพ การประกวดแข่งขันทางวิชาการสำหรับเยาวชนและประชาชน เช่น การแข่งขันอ่านทำนองเสนาะ เป็นต้น การแสดงศิลปวัฒนธรรมจาก 4 จังหวัดภาคตะวันออก รวมถึงการประกวดต่างๆ มากมาย เช่น การประกวดผีเสื้อสมุทร สินสมุทร สุดสาคร เป็นต้น

งานเทศกาลผลไม้ ของดีเมืองระยอง

                   ในงานมีขบวนแห่รถประดับผลไม้ การประกวดผลไม้ การประกวดธิดาชาวสวน การจำหน่ายผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ตลอดจนการแสดงนิทรรศการด้านการเกษตร จัดในช่วงฤดูผลไม้ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ที่ตลาดผลไม้เพื่อการเกษตรตะพงอ.เมืองระยอง
                  วันที่สำคัญที่สุดใน งานเทศกาลผลไม้ ของดีเมืองระยอง ก็คือวันเปิดงาน จะมีขบวนแห่รถประดับผลไม้จากสวนศรีเมืองมายังตลาด ประกวดธิดาชาวสวนที่สวนศรีเมือง ช่วงบ่ายเป็นพิธีเปิด มีการมอบรางวัลขบวนรถประดับผลไม้ ทั้งประเภทสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ มอบรางวัลให้ธิดาชาวสวนหลังจากนั้นจะมีการแข่งขันรับประทานผลไม้ ส่วนวันอื่น ๆ ก็มีเฉพาะการออกร้านจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ

ประเพณีทำบุญกลางทุ่ง

                จัดขึ้นในช่วงเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ (ช่วงเดือนสาม หลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้ว) ในอำเภอแกลง และอำเภอบ้านค่าย ประเพณีทำบุญกลางทุ่งมีสองอย่างคือ ทำบุญขอฝน และทำบุญข้าวใหม่หรือทำบุญข้าวหลาม การทำบุญข้าวใหม่นั้นทำเพื่อรับขวัญข้าวใหม่ ที่เก็บเกี่ยวเสร็จ ถือเป็นงานมงคลประจำหมู่บ้านและเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจให้แก่ชาวนาอีกด้วย
               กิจกรรมที่น่าสนใจ ในวันงานชาวบ้านจะนิมนต์พระมาสวดมนต์ที่ปะรำพิธีกลางทุ่งนา เรียกว่า สวดมนต์เย็น พอรุ่งเช้าจะร่วมกันทำบุญตักบาตร แล้วกลับบ้านไปเผาข้าวหลามเพื่อเตรียมไว้มาทำบุญในวันรุ่งขึ้นพร้อมด้วย อาหารคาวหวานต่างๆ ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์ โดยนำข้าวปลาอาหาร ขนม และย้ำใส่ในกาบหมาก โดยสมมติว่าเป็นเรือ หลังจากพระฉันภัตตาหารและสวดมนต์แล้ว ก็นำกากหมากออกไปทิ้งไว้ข้างทาง เพื่อให้ผีไม่มีญาติได้กินกัน กิจกรรมตอนกลางคืนจะมีมหรสพต่างๆ เช่น ลิเก ภาพยนตร์ วงดนตรี เป็นต้น
  งานภูมิบุรี ศรีระยอง
                  จัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม ณ ถนนยมจินดา เมืองเก่าระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง งาน ภูมิบุรี ศรีระยอง ขึ้นเป็นประจำปีทุกปี เป็นงานวัฒนธรรมผสมผสานกับการเล่าขานเมืองเก่า พบถนนผสมผสานแห่งเรื่องราวจากรุ่นสู่รุ่น โดยงานภูมิบุรี ศรีระยองนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของเมืองระยองให้คงอยู่สืบไป และเป็นงานประเพณีของระยองอีกงานหนึ่งที่ได้รับการตอบรับอย่างดีตลอดมาโดยผู้ที่มาเที่ยวชมงานภูมิบุรี ศรีระยองนี้ จะได้พบกับกิจกรรม ความบันเทิง และการแสดงต่างๆ มากมาย รวมไปถึงการออกร้านต่างๆ มากมาย ได้แก่ การแสดงนาฏศิลป์จากหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น การแสดงดนตรีไทย, ดนตรีไทยประยุกต์, วงอังกะลุง, ระบำนารีศรีระยอง, การแสดงชุด มนต์เสน่ห์ทะเลตะวันออก, การแสดงชุดทวยเทพสถิตย์สถาพร (รอยอีสาน นรีมาลากัส โขนจับนาง ศรีชัยสิงห์สี่ภาค) และการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน, การแสดงศิลปะ หัตถกรรม ของนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดระยอง, การสาธิตทำอาหารพื้นเมืองระยองและขนมไทย, การออกร้านอาหารพื้นเมืองของเมืองระยองมากกว่า 80 ร้าน, การจัดนิทรรศการภาพเก่าของชุมชนบนถนนยมจินดา, การแต่งกายย้อนยุค บ่งบอกเอกลักษณ์ของไทยอันสวยงาม, การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่งและลูกกรุง และพบศิลปินนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง จิ้งหรีดขาว วงศ์เทวัญ

งานทอดผ้าป่ากลางน้ำ

                 จัดขึ้นในช่วงเทศกาลลอยกระทงของทุกปี เป็นงานประเพณี ของชาวบ้านปากน้ำประแสร์ อ.แกลง งานทำบุญทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นงานประเพณี งานบุญ รื่นเริงใหญ่ประจำปีของชาวบ้านปากน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง มานานกว่า 100 ปี ชุมชนปากน้ำประแสร์เป็นชุมชนการประมงขนาดใหญ่ ประชากรจำนวนมาก การจัดงานบุญจึงนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีในเรือนกลางน้ำ และให้ชาวบ้านจากชุมชนต่างๆ นั่งเรือมาทอดผ้าป่าร่วมกัน ซึ่งประเพณีการทอดผ้าป่าของชาวบ้านปากน้ำประแส จะต่างจากการทอดผ้าป่าในท้องถิ่นอื่น เนื่องจากชาวบ้านอาศัยอยู่ริมแม่น้ำจะนำกองผ้าป่ามาทอดกลางน้ำ โดยชาวบ้านจะจัดแต่งเรือผ้าป่าอย่างสวยงาม แล้วนำไปลอยกลางแม่น้ำ พอตกเย็นก็นิมนต์พระประมาณ 4-5 รูป ไปชักพุ่มผ้าป่า ส่วนกองผ้าป่าส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านนำมาถวายพระมักตั้งอยู่บนบกแล้ว

งานห่มผ้าพระเจดีย์กลางน้ำ

                    งานห่มผ้าพระเจดีย์กลางน้ำ เป็นงานประเพณีจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันเพ็ญเดือน 12 ณ วัดปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยองโดยทางจังหวัดระยองถือว่า พระเจดีย์กลางน้ำนั้นเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดระยอง และเป็นสิ่งที่ชาวระยองเคารพนับถือ โดยรวบรวมงานลอยกระทงไว้ด้วย ทั้งนี้ชาวระยองเชื่อกันว่าการห่มผ้าพระเจดีย์จะได้บุญกุศลอย่างมาก และจัดงานเพียงปีละครั้งเท่านั้น ชาวบ้านในแต่ละอำเภอจะรวมเงินกันซื้อผ้าห่ม โดยผ้าที่จะนำมาห่มพระเจดีย์ต้องเป็นผ้าสีแดง มีความยาว 6 เมตร ใช้คน 2 คนปีนขึ้นไปห่มส่วนบนของเจดีย์ ซึ่งงานประเพณีนี้ถือว่าเป็นการทำบุญร่วมกัน บางปีมีการห่มผ้าพระเจดีย์ซ้อนทับกันหลายผืนเลยทีเดียว แต่ก่อนชาวบ้านจะพายเรือมาทอดกฐินเป็นขบวนยาวเต็มแม่น้ำระยอง เริ่มจากวัดปากน้ำไปถึงพระเจดีย์กลางน้ำ แล้วนำผ้าแดงไปห่มพระเจดีย์ แต่ปัจจุบันน้ำตื้นเขิน เดินทางไม่สะดวก จึงเปลี่ยนเป็นริ้วขบวนรถที่ตกแต่งอย่างสวยงามแทน นอกจากจะมีการห่มผ้าห่มผ้าเจดีย์กลางน้ำแล้ว ยังจะมีกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย อาทิเช่น การแข่งขันเรือยาว การลอยกระทง และมีการแสดงมหรสพพื้นบ้านประเภทต่างๆ

เศรษฐกิจของจังหวัดระยอง

เศรษฐกิจของจังหวัดระยอง

            ระยองเป็นจังหวัดที่มีสภาพทางเศรษฐกิจดีจังหวัดหนึ่ง จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดปี 2547 มีมูลค่า370,104 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการผลิตด้านอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเลียม  และปิโตรเคมี มีมูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 719,718 บาท / คน / ปี เป็นลำดับที่ 1 ของประเทศ
         โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง (ปี พ.ศ. 2547) สาขาการผลิตนอกภาคเกษตรกรรมมีมูลค่ารวมสูงถึง 368,888  ล้านบาท โดยการผลิตสาขาอุตสาหกรรมมีมูลค่าสูงสุดคือ 196,280 ล้านบาท 
สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหินมีมูลค่า 114,919 ล้านบาท เป็นต้น ในขณะที่การผลิตภาคเกษตรกรรม (สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ , สาขาการประมง ) มีมูลค่ารวมเพียง 10,216 ล้านบาท
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดระยอง
มันสำปะหลัง
             มันสำปะหลัง เกษตรกรนิยมปลูกมันกันมากที่สุดในพื้นที่อำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ อำเภอเมืองตามลำดับ โดยนิยมปลูกพันธ์ระยอง 5, เกษตรศาสตร์ 50,ระยอง 90 ,ระยอง 60 และระยอง 3 ตามลำดับโดยในปี 2547 ราคาเฉลี่ยต่อหัวมันสด ณ โรงแป้งมัน (25%) 1.20-1.33 บาท/กก.



เงาะ
                เงาะ การทำสวนเงาะ เกษตรกรนิยมปลูกในพื้นที่เคียงคู่กับการปลูกทุเรียน โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ เงาะพันธุ์โรงเรียน รองลงมาคือ เงาะพันธุ์สีชมพู ในปี 2547 ราคาเฉลี่ยพันธุ์สีชมพู  ขายปลีก 7-15 บาท/กก. ขายส่ง 5-7 บาท/กก.พันธุ์โรงเรียน ขายปลีก 15-20  บาท/กก. ขายส่ง 9-10 บาท/กก.
ทุเรียน
                          ทุเรียน  การทำสวนทุเรียนเป็นอาชีพที่เกษตรกรในจังหวัดระยองยึดเป็นอาชีพมาช้านาน  เนื่องจากประสบการณ์และ ความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม โดยมีพื้นที่ปลูกมากในพื้นที่อำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ อำเภอเมือง กิ่งอำเภอเขาชะเมา อำเภอบ้านค่าย ตามลำดับ แนวโน้มการปลูกทุเรียนจะมีพื้นที่อำเภอปลูกลดลง เนื่องจากในช่วง 3 ปีทีผ่านมาราคาผลผลิตทุเรียนมีราคาตกต่ำ จึงทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดที่อื่นทดแทน เช่น ยางพารา เป็นต้น โดยในปี  2547 ราคาผลผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ขายปลีก 15-25 บาท/กก. ขายส่ง 13-15 บาท/กก. พันธุ์ชะนี ขายปลีก 10-15 บาท/กก. ขายส่ง 7-10 บาท/กก.

มังคุด
                 มังคุด เป็นผลไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนเป็นพืชเมืองร้อน สามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ผลมังคุดมีรูปทรงและสีสันสวยงาม รสชาติดีมีราคา และเป็นที่นิยมบริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศจึงได้รับฉายาว่าเป็น “THE  QUEEN OF FRUIT”  โดยมีแนวโน้มการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ผลผลิตมังคุดออกสู่ตลาดเพื่อการบริโภคสด ส่งไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยราคาผลผลิตในปี 2547 ราคาขายส่งเฉลี่ย 12-15 บาท/กก. ขายปลีกเฉลี่ย 20-25 บาท/กก.
ต้นยางพารา

                      ยางพารา เป็นพืชที่เพาะปลูกมากที่สุดในจังหวัด  เมื่อเปรียบเทียบกับพืชเศรษฐกิจสำคัญ         ชนิดอื่นๆ เนื่องจากยางพาราเป็นพืชที่ปลูกง่ายไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามาก อีกทั้งสภาพทางภูมิประเทศของจังหวัดเอื้ออำนวยและความต้องการของตลาดยังคงมี ปริมาณสูง โดยราคาเฉลี่ยในปี  2547 ยางแผ่นดิบคุณภาพ (คละ) 40-50 บาท/กก.