วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจของจังหวัดระยอง

เศรษฐกิจของจังหวัดระยอง

            ระยองเป็นจังหวัดที่มีสภาพทางเศรษฐกิจดีจังหวัดหนึ่ง จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดปี 2547 มีมูลค่า370,104 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการผลิตด้านอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเลียม  และปิโตรเคมี มีมูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 719,718 บาท / คน / ปี เป็นลำดับที่ 1 ของประเทศ
         โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง (ปี พ.ศ. 2547) สาขาการผลิตนอกภาคเกษตรกรรมมีมูลค่ารวมสูงถึง 368,888  ล้านบาท โดยการผลิตสาขาอุตสาหกรรมมีมูลค่าสูงสุดคือ 196,280 ล้านบาท 
สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหินมีมูลค่า 114,919 ล้านบาท เป็นต้น ในขณะที่การผลิตภาคเกษตรกรรม (สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ , สาขาการประมง ) มีมูลค่ารวมเพียง 10,216 ล้านบาท
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดระยอง
มันสำปะหลัง
             มันสำปะหลัง เกษตรกรนิยมปลูกมันกันมากที่สุดในพื้นที่อำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ อำเภอเมืองตามลำดับ โดยนิยมปลูกพันธ์ระยอง 5, เกษตรศาสตร์ 50,ระยอง 90 ,ระยอง 60 และระยอง 3 ตามลำดับโดยในปี 2547 ราคาเฉลี่ยต่อหัวมันสด ณ โรงแป้งมัน (25%) 1.20-1.33 บาท/กก.



เงาะ
                เงาะ การทำสวนเงาะ เกษตรกรนิยมปลูกในพื้นที่เคียงคู่กับการปลูกทุเรียน โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ เงาะพันธุ์โรงเรียน รองลงมาคือ เงาะพันธุ์สีชมพู ในปี 2547 ราคาเฉลี่ยพันธุ์สีชมพู  ขายปลีก 7-15 บาท/กก. ขายส่ง 5-7 บาท/กก.พันธุ์โรงเรียน ขายปลีก 15-20  บาท/กก. ขายส่ง 9-10 บาท/กก.
ทุเรียน
                          ทุเรียน  การทำสวนทุเรียนเป็นอาชีพที่เกษตรกรในจังหวัดระยองยึดเป็นอาชีพมาช้านาน  เนื่องจากประสบการณ์และ ความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม โดยมีพื้นที่ปลูกมากในพื้นที่อำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ อำเภอเมือง กิ่งอำเภอเขาชะเมา อำเภอบ้านค่าย ตามลำดับ แนวโน้มการปลูกทุเรียนจะมีพื้นที่อำเภอปลูกลดลง เนื่องจากในช่วง 3 ปีทีผ่านมาราคาผลผลิตทุเรียนมีราคาตกต่ำ จึงทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดที่อื่นทดแทน เช่น ยางพารา เป็นต้น โดยในปี  2547 ราคาผลผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ขายปลีก 15-25 บาท/กก. ขายส่ง 13-15 บาท/กก. พันธุ์ชะนี ขายปลีก 10-15 บาท/กก. ขายส่ง 7-10 บาท/กก.

มังคุด
                 มังคุด เป็นผลไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนเป็นพืชเมืองร้อน สามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ผลมังคุดมีรูปทรงและสีสันสวยงาม รสชาติดีมีราคา และเป็นที่นิยมบริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศจึงได้รับฉายาว่าเป็น “THE  QUEEN OF FRUIT”  โดยมีแนวโน้มการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ผลผลิตมังคุดออกสู่ตลาดเพื่อการบริโภคสด ส่งไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยราคาผลผลิตในปี 2547 ราคาขายส่งเฉลี่ย 12-15 บาท/กก. ขายปลีกเฉลี่ย 20-25 บาท/กก.
ต้นยางพารา

                      ยางพารา เป็นพืชที่เพาะปลูกมากที่สุดในจังหวัด  เมื่อเปรียบเทียบกับพืชเศรษฐกิจสำคัญ         ชนิดอื่นๆ เนื่องจากยางพาราเป็นพืชที่ปลูกง่ายไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามาก อีกทั้งสภาพทางภูมิประเทศของจังหวัดเอื้ออำนวยและความต้องการของตลาดยังคงมี ปริมาณสูง โดยราคาเฉลี่ยในปี  2547 ยางแผ่นดิบคุณภาพ (คละ) 40-50 บาท/กก.


2 ความคิดเห็น: